Skip to content

KUBET – ฮุน เซน VS “เครื่องราชฯ -ออกญา” ชั้นยศ ต่างตอบแทน ในกัมพูชา

ฮุน เซน VS "เครื่องราชฯ -ออกญา" ชั้นยศ ต่างตอบแทน ในกัมพูชา

ฉิน จื้อ ( Chen Zhi ) นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ชาวจีนในกัมพูชา ผู้ก่อตั้ง Prince Group ไม่ใช่คนแรกที่ได้ “บรรดาศักดิ์” และ “เครื่องราชฯ” แต่ก่อนหน้านี้ เคยมีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อย เคยได้ตำแหน่ง “ออกญา” หรือ “เนี๊ยะ ออกญา” ในชั้นที่เรียกว่า “เจ้าพระยา” มาแล้ว

ต่างเพียง ในวัย 27 ปี เมื่อปี 2014 “ฉิน จี้อ” ได้รับสัญชาติกัมพูชา และต่อมาอีก 6 ปีให้หลัง กษัตริย์นโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2024 แต่งตั้ง เนี๊ยะออกญา เฉิน จื้อ ประธานของ Prince Group ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ สมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิ สภากัมพูชา ขณะเดียวกันยังมีสถานะเป็นรัฐมนตรีอีกด้วย

ในขณะที่มีข้อมูลระบุว่า “ชิว กัวซิง” (Qui Guoxing) อดีตประธานกรรมการบริหารบริษัท Prince Real Estate Group คือ เงาที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มทุน Prince Group ทั้งหมด

“ชิว กัวซิง” เกิดที่เมืองเหลียนเจียง เมืองฟูโจว ปี 1970 เป็นประธานหอการค้าฟูเจียนกัมพูชา รองประธานบริหารบริษัท Cambo dia Prince Real Estate Group และประธานมูลนิธิ Cambodia Prince Real Estate Charity Foundation หรือ Prince Foundation และประธานบริษัท Fujien Minjian Cambodia Industrial

ไม่พบข้อมูลว่า “ชิว กัวซิง” ได้รับบรรดาศักดิ์ออกญา และได้รับเครื่องราชฯในกัมพูชาหรือไม่ หากกลับมีรายงานว่า กลุ่ม Prince Group มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินผ่านการพนันออนไลน์และการสื่อลามกทางออนไลน์ โดยรัฐบาลกรุงปักกิ่งกำลังอยู่ระหว่างการสืบสวน

ในขณะที่สื่อจีนมีรายงานว่า กลุ่ม Prince Group ของกัมพูชา อาจมีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับการพนันออนไลน์และสื่อลามก อนาจาร

ปี 2021 ตำรวจจีนได้เปิดโปงคดีสื่อลามกอนาจารออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับแอป Cucumber VideoW ภายใต้กลุ่ม “Prince” ถูกกล่าวหาว่าพัฒนาและดำเนินการแอปพลิเคชันสื่อลามกอนาจารในต่างประเทศ และเผยแพร่แอปพลิเคชัน ผ่านเครือข่ายในประเทศจีน ทำกำไรอย่างผิดกฎหมายเป็นเงินหลายร้อยล้านหยวน

นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า เฉิน จื้อ ซีอีโอของ Prince Group ถูกสอบสวนกรณีมีสื่อลามกอนาจาร แม้จะมีข่าวลือแพร่สะพัดว่าเขา พยายามหลีกเลี่ยงการลงโทษทางกฎหมาย ด้วยการติดสินบน อดีตนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา แต่ข้อกล่าวหาดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยืนยัน

ข้อมูลระบุอีกว่า เมื่อเดือนเมษายน 2024 ตำรวจจีนและกัมพูชาได้ร่วมกัน คลี่คลายคดีการพนันออนไลน์ข้ามชาติที่สำคัญ และพบผู้ต้องสงสัยชาวจีนจำนวน 130 คนในกัมพูชา เข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีฉ้อโกงการพนัน ทั้งหมดจึงถูกทาง การจีนนำตัวกลับไปยังประเทศ

พลิปปูม เครื่องราชฯ-บรรดาศักดิ์ “กัมพูชา”

ตามประวัติ “เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติ” และบรรดาศักดิ์ของราชอาณาจักรกัมพูชา ถูกสถาปนาครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 1864 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ยุคที่กัมพูชามีเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส เพื่อมอบบำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้

โดยในยุคที่กัมพูชายังตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ก็มีฐานะเป็นประธานเครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาด้วย กระทั่งปี 1948 การเป็นประธานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จึงตกเป็นสิทธิ์ขาดของกษัตริย์กัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว

ในปี 1975 หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การมอบเครื่องราชฯ จึงได้ยุติลง และต่อมาได้มีการรื้อฟื้นการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นใหม่ ตามพระบรมราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1995

โดยเฉพาะในยุคที่ ฮุน เซน เป็น นายกรัฐมนตรี ประเทศกัมพูชา ได้ทำการรื้อ ฟื้น ตำแหน่งบรรดาศักดิ์และให้เครื่องราชย์ขึ้นอีกครั้ง โดยให้ตำแหน่งออกญา หรือ เนี๊ยะออกญา มีบรรดาศักดิ์เทียบเท่ากับตำแหน่ง “พระยา” หรือเทียบเท่า กับตำแหน่งอธิบดี หรือปลัดกระทรวง ในระบบราชการปัจจุบัน

แต่ตำแหน่งนี้จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ถือเป็นเพียงคำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งเกียรติยศที่รัฐบาลกัมพูชามอบให้ผู้บริจาคเงินให้รัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐ จำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ16.3 ล้านบาท

ว่ากันว่า สำหรับตำแหน่ง “ออกญา” แม้ไม่มีหน้าที่ในการบริหารแผ่นดินในกัมพูชา แต่กลับถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเครือข่ายนักธุรกิจและขยายอิทธิพลทางการเมือง และหลายฝ่ายในกัมพูชาก็เรียกร้องให้ ฮุน เซน ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับตำแหน่ง “ออกญา” หลังพบว่า มีนักธุรกิจหลายคนเข้าไปมีส่วนพัวพันใน ธุรกิจสีเทา คดีทุจริต ค้ามนุษย์ และยาเสพติด

เครื่องราชฯ สัญลักษณ์มิตรภาพ “5 คนไทย” เคยได้รับ

สำหรับคนไทยที่เคยได้รับเครื่องราชย์ เหรียญตรา หรือแถบเครื่องหมายที่ได้รับจากกัมพูชา ซึ่งส่วนใหญมักจะมอบให้กับผู้นำและมิตรประเทศของกัมพูชาเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่แน่นเฟ้น หรือเป็นบุคคลที่สร้างคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่กัมพูชา มีจำนวน 5 คน คือ

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรีชั้นสูงสุด (The Royal Order of Sahametrei – Grand Cross) จากกษัตริย์นโรดม สีหนุ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2544

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรีชั้นสูงสุด (The Royal Order of Sahametrei – Grand Cross) จากกษัตริย์นโรดม สีหนุ เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2544

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรมว.ต่างประเทศ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลำดับสหไมตรี (Grand Officer) หรือ ชั้นมหาเสนา ในปี พ.ศ. 2544 โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มอบเป็นเครื่องหมายแห่งมิตรภาพให้ชาวต่างชาติผู้มีความชอบดีเด่นต่อพระมหากษัตริย์และประชาชนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือด้านการทูต

นายอาสา สารสิน อดีตรมว.ต่างประเทศ ผู้ล่วงลับไปแล้ว เคยได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรีชั้น Grand Officer ) หรือชั้นมหาเสนา ในปี พ.ศ. 2547

และนายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา เคยได้รับเครื่องอิสริยยศลำดับสหไมตรี ชั้นมหาสิริวัฒน์ซึ่ง เป็นชั้นสูงสุด เมื่อเดือนก.พ.2566

สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังกล่าว รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาได้ มอบให้เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือด้านการทูต และเป็นเครื่องหมายแห่งมิตรภาพแก่ชาว ต่างชาติผู้มีความชอบดีเด่นต่อพระมหากษัตริย์และประชาชนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

อ่านข่าว

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *