Skip to content

KUBET – “การเมือง” กดดันเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยซีไอเอ็มบี ชี้ไทยเสี่ยงโตช้าครึ่งปีหลัง

“การเมือง” กดดันเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยซีไอเอ็มบี ชี้ไทยเสี่ยงโตช้าครึ่งปีหลัง

ศูนย์วิจัยซีไอเอ็มบีไทย เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส3 ร้อนแรง “การเมือง” กดดันเศรษฐกิจ เสี่ยงโตช้าลงช่วงครึ่งปีหลัง หลังนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว หวั่นส่งออกไตรมาส3-4 หดตัว

วันนี้ ( 1 ก.ค.2568) ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยกำลังก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังของปี2568 ยังคงเผชิญเรื่องร้อนๆ อย่างเต็มแรง และเสี่ยงเติบโตช้าลงช่วงครึ่งปีหลัง แต่สำนักวิจัยฯ ยังคงคาดการณ์ GDP ปี 2568 ไว้ที่ 1.8% แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับการคาดการณ์ไปสู่ระดับ 2.3% จาก 2.0% จากแรงส่งที่แรงกว่าคาดของ GDP ไตรมาส 1 ที่ขยายตัวถึง 3.1% และส่งที่เติบโตได้ดี แต่หากพิจารณาสถานการณ์ไตรมาส 2 และแนวโน้มไตรมาส 3 แล้ว ยากจะเชื่อมั่นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพราะความเดือดดาลทางการเมืองระหว่างประเทศและในประเทศค่อนข้างฉุดรั้งความเชื่อมั่น

 ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย

นอกจากนี้ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 1.50% ในรอบการประชุมเดือนส.ค.และลดอีกครั้งเหลือ 1.25% ในรอบการประชุมธ.ค.ส่วนค่าเงินบาทน่าอยู่ที่ระดับ 32.90 ปลายไตรมาส 3 และ 33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐสิ้นปีนี้

เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกเติบโต 3.1% จากกรณีพิเศษ จึงไม่อยากให้ดีใจมากนัก ทั้งมาจากมาตรการแจกเงินภาครัฐ และการเร่งส่งออกไปสหรัฐก่อนมาตรการภาษี แต่ย่างเข้าไตรมาส 2 เริ่มเห็นความเสี่ยงปะทุเข้ามาจากปัจจัยสงครามการค้า ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และปัญหาเสถียรภาพการเมืองในประเทศ

ทั้งนี้ คาดว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสเทียบไตรมาสไม่น่าจะขยายตัวเลย แต่ไตรมาส 2 ปีนี้เทียบปีก่อน น่าจะขยายตัว 2.2% ซึ่งสภาพัฒน์ฯจะรายงานตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้งวันที่ 18 ส.ค.นี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะชะงักงันลากยาวตลอดทั้งปี ส่งผลให้เศรษฐกิจไตรมาส 3 และ 4 แบบ YoY จะโตเพียง 1.1% และ 0.7% ตามลำดับ

ดร.อมรเทพ กล่าวอีกว่า ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบแรงกว่าที่คาด โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมหยุดชะงักหรือแทบไม่มีโครงการใหม่ออกมาในช่วงไตรมาส 2 และน่าจะลากยาวไปตลอดไตรมาส 3 ทั้งปัญหาความเชื่อมั่นการอยู่อาศัยในตึกสูง ความกังวลด้านความเสี่ยงสินเชื่อ ปัญหาผู้ประกอบการขาดสภาพคล่อง อุปทานส่วนเกินยังล้นตลาด อัตราการปฏิเสธสินเชื่อที่อยู่อาศัยสูงขึ้น และกำลังซื้อต่างชาติที่เคยเป็นแรงหนุนของตลาดก็หดหายไปตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนด้วย

การก่อสร้างภาคเอกชนมีโอกาสหดตัวตลอดทั้งปี กระทบการจ้างงานและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ผู้ประกอบการหั่นราคาเพื่อระบายห้องชุดเพื่อตุนสภาพคล่อง กระทบราคาตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมและคุณภาพสินเชื่อในอนาคต จึงต้องระวังสงครามราคาที่อยู่อาศัย

แต่จุดที่เป็นโอกาส คือคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุนปล่อยเช่าที่มีทำเลที่ดี ได้แก่ คอนโดมิเนียมใกล้แนวรถไฟฟ้าสายหลัก เช่น สายสีเขียว หรือสีน้ำเงิน หรือคอนโดมิเนียมตามโซนเมืองชั้นในและชั้นกลาง ที่ราคาน่าสนใจ เช่น ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อยูนิต ก็พอสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ หรือหากลงทุนเพื่ออยู่อาศัยเองก็น่าหาแนวรถไฟฟ้าราคา 3-5 ล้านบาทต่อยูนิต ที่นอกจากจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากสงครามราคารอบนี้แล้ว ปัญหาในการขอสินเชื่อสำหรับกลุ่มนี้ก็จะค่อนข้างน้อยด้วย

ส่วนกลุ่มบ้านแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว แต่ตลาดกลับอยู่ในทิศทางที่หดตัวลงไม่ต่างกัน ส่วนหนึ่งมาจากอุปสงค์ที่ชะลอลงลากยาวมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2567

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างภาคเอกชน ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม หรือโกดังสินค้าอาจจะยังพอไปได้ ด้วยทิศทางของ FDI ที่โมเมนตัมดีต่อเนื่องจากปีก่อนและขยายตัวได้ในไตรมาสแรก นับเป็นความหวังของการก่อสร้างภาคเอกชน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลุ่มที่อยู่อาศัย อยู่ในช่วงน่าเป็นห่วงและอาจยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ในเร็ววัน

เช่นเดียวกับ ยอดขายรถยนต์ใหม่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคลปีนี้น่าจะอยู่ที่ราว 530,000 คันลดลงจาก 572,675 คันในปีก่อน ขณะที่กำลังซื้อในประเทศอ่อนแอ การปล่อยสินเชื่อเข้มงวดตามปัญหาด้านเครดิตของผู้กู้ ขณะที่สัดส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะเพิ่มขึ้นที่ราว 14% ของรถยนต์ส่วนบุคคลทั้งหมด เทียบกับปีก่อนหน้าที่ 12% และมีแนวโน้มว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

โดยเฉพาะหากยอดขายรถยนต์ประเภทสันดาปหดตัวแรงกว่ารถ EV และต้องติดตามปัญหาสงครามราคารถ EV ว่าจะมีต่อเนื่องปีนี้หรือไม่ ซึ่งจะยิ่งทำให้ยอดขายรถยนต์สันดาปทั่วไปลดลงอีกได้จากการขาดแรงจูงใจเมื่อเทียบรถ EV ขณะที่ตลาดรถยนต์มือสองอาจเผชิญปัญหายอดขายซบเซา เนื่องจากคนเลือกที่จะใช้รถเก่านานขึ้นหรือเลื่อนการเปลี่ยนรถ ประกอบกับการพิจารณาสินเชื่อที่เข้มงวด

โอกาสในตลาดรถยนต์มือสองยังมี เพราะคนหันมาซื้อรถยนต์มือสองในช่วงอายุต่ำกว่า 5 ปีแทนการออกรถยนต์ใหม่ ด้วยเหตุผลด้านกำลังซื้อ ตลาดนี้จึงมีโอกาสในกลุ่มมนุษย์เงินเดือนและกลุ่มที่มีเครดิตดีพร้อมกู้เท่าที่จำเป็น

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวอีกถึงอุตสาหกรรมทองเที่ยวไทยในขณะนี้ว่า นักท่องเที่ยวจีนหายไปราว 33% ช่วง 5 เดือนแรก รวมถึงนักท่องเที่ยวมาเลเซียเริ่มลดลง แม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวอินเดียและรัสเซียจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่อาจชดเชยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนได้ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปีนี้ 34.5 ล้านคน ลดลงจาก 35.5 ล้านคน

รายจ่ายต่อหัวเพิ่มขึ้น แต่การท่องเที่ยวไม่ใช่ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ กรุงเทพน่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดตามด้วยพัทยาและเชียงใหม่ เพราะเป็นจุดหมายหลักของนักท่องเที่ยวจีน

ทั้งนี้การที่รายได้ท่องเที่ยวแทบไม่เติบโต จะกระทบต่อกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร การใช้จ่ายด้านอาหาร เครื่องดื่ม ขนส่ง ค้าปลีกและค้าส่ง ซึ่งการแข่งขันและต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น มาตรการท่องเที่ยวเมืองรองทำได้เพียงประคองสถานการณ์ไม่ให้ทรุดไปมากกว่านี้ หากเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยที่ใช้จ่ายน้อยพอจะชดเชยกลุ่มนักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์จากจีนที่หายไปได้

และกลุ่มโรงแรมประเภทสามดาวหรือโรงแรมประเภทประหยัดน่าได้ประโยชน์ แต่สิ่งที่จะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวได้ดีน่าจะมาจากการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว สร้างความปลอดภัยในประเทศ ปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดกับผู้กระทำผิดต่อนักท่องเที่ยว พร้อมกับหาเส้นทางบินใหม่ๆ และลดข้อจำกัดด้านวีซ่าแก่นักท่องเที่ยว

ดร.อมรเทพ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ เผชิญแรงกดรอบด้าน ทั้งอสังหาริมทรัพย์ซบเซา นักท่องเที่ยวหาย การบริโภคแผ่ว ตลาดยานยนต์ซึม กำลังซื้ออ่อนแอ สินเชื่อหดตัว อัตราดอกเบี้ยสูง เงินบาทแข็งกระทบส่งออก การเมืองสั่นคลอน ปัจจัยต่างประเทศร้อนแรง ในฉากทัศน์นี้ กรณีฐาน (Base case) คาด GDP ปีนี้โตแค่ 1.8% เข้าข่ายเศรษฐกิจชะงักงัน และอาจเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค หาก GDP หดตัวต่อเนื่องสองไตรมาสติดใน Q3 และ Q4

โดยเฉพาะหากปัจจัยลบหนักกว่าคาด เช่น สงครามน้ำมัน ราคาน้ำมันพุ่ง หรือการเมืองไทยยืดเยื้อ ยิ่งกดดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่ำสุดเหลือเพียง 1.4% กรณีดีที่สุด (Upside) หากส่งออกฟื้น มาตรการกระตุ้นกระจายตัวได้จริง การเมืองไม่ป่วน และน้ำมันลดราคา GDP มีโอกาสโตได้สูงสุดราว 2.3%

ไม่ว่าฉากทัศน์ไหน จะรุ่ง รอด หรือ ริ่ง สัญญาณชัดคือเศรษฐกิจไทยยังเสี่ยงโตต่ำต่อเนื่องไปถึงปีหน้า หากยังไม่เร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างจริงจัง และยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียความน่าสนใจในการลงทุนจากต่างชาติ

อ่านข่าว:

 เอกชน ให้โอกาส ครม.แพทองธาร 2 หวังเร่งเครื่องเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลัง

ศาลฯสั่ง “นายกฯ”หยุดปฏิบัติหน้าที่ กระทบเชื่อมั่นนักลงทุน ห่วงเจรจาภาษีสหรัฐฯ

เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังเสี่ยงสูง เกียรตินาคินภัทรฯ หั่นจีดีพีเหลือ 1.6%

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *